วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตงาน Animation: สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆได้แก่ Pre-Production/Production/Post-Production

Pre-Production

Concept idea or Inspiration (แนวคิดหรือแรงบันดาลใจ): เป็นเรื่องราวของความชอบหรือสิ่งที่เคยพบเคยเห็นแล้วอยากที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นๆขึ้นมา หรือเกี่ยวกับความทรงจำในอดีตที่ประทับใจ

Script (บท): เป็นการนำคอนเซปต์หลักๆมาเพิ่ม หรือบรรยายเสริมแต่งเป็นเนื้อเรื่อง โดยการหาข้อมูลที่เราต้องการ เช่น ถ้าทำแอนิเมชันเกี่ยวกับการประดิษฐ์จากสิ่งของ ก็ต้องหาอุปกรณ์ของเล่นต่างๆให้ได้มากที่สุด โดยแยกเป็นหมวดหมู่ และถ่ายภาพเก็บไว้เผื่อได้ไอเดียเพิ่มเติม

Character/Prop/Background Design (การออกแบบตัวละคร อุปกรณ์ประกอบฉาก และฉาก): ตัวละคร อุปกรณ์ประกอบฉาก และฉากทั้งหลายในงานแอนิเมชันมักอ้างอิงมาจากของจริงที่ได้จากข้อมูลที่เราค้นหาเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นรูปจากอินเตอร์เน็ต หนังสือ สื่อ

Story Board (บทภาพนิ่ง): เป็นสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนตัวกลางให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจตรงกันในแอนิเมชันเรื่องนั้นๆ ซึ่งมีรายละเอียดและองค์ประกอบที่สำคัญ คือ มุมกล้อง - การจัดวางและการเคลื่อนที่ของมุมกล้องมีผลต่ออารมณ์และจังหวะของเนื้อเรื่อง จึงควรเข้าใจอารมณ์และความสัมพันธ์ของมุมกล้อง/ ขนาดภาพ - เป็นตัวบอกการดำเนินเรื่องราว ซึ่งจะมีผลต่อการต่อเนื่องของภาพและการเน้นสิ่งที่ต้องการสื่อสารในช็อตนั้นๆ/ เวลาที่ใช้ในช็อต - แสดงการเคลื่อนไหวของตัวละครและองค์ประกอบอื่นๆโดยอ้างอิงจากเสียงพากย์หรือเสียงในรูปแบบต่างๆ คือ เสียงพากย์ของตัวละครและเสียงประกอบพิเศษ, คำอธิบายประกอบการเคลื่อนไหวของตัวละคร
http://www.nineproduction.com/th/images/stories/storyboard-pub1-copy.jpg
Voice (เสียงพากย์ไกด์): เป็นแนวทางให้แอนิเมชันทำงานได้สะดวกและถูกต้อง โดยอาจใช้โปรแกรม Sound Record ได้หากไม่มีห้องพากย์ โดยไฟล์เสียงที่จะนำมาใช้ต้องเป็น wav.

Animatic Board (บอร์ดภาพเคลื่อนไหว): เป็นการนำสตอรีบอร์ดและเสียงพากย์ไกด์มารวมกันในโปรแกรมตัดต่อ เพื่อดูว่าตรงส่วนไหนควรเพิ่มหรือควรลดอะไร
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEioSAu1dQGpO7xNPlDYUYIP7RqyiS918sV-HKAb4bPyxa-tTIYUL6-Ot2bzQXgGEDuwn8yztkPip5NJ0U1PUCNBR_zAFyAFK9O9C9cXRseaEXv-_NyH53hSUAjg66zRaGRCWd1SZ3xW1M9c/s1600/Animatic+Shooting+Board.jpg
Production

Modeling (การปั้นโมเดล 3 มิติ): โมเดลตัวละคร/ โมเดลอุปกรณ์ประกอบฉาก/ โมเดลฉากแบ็กกราวด์

http://www.gconsole.com/column/behindthescene/tiger_3d_model.jpg
Texture (การใส่พื้นผิว): เป็นการใส่สีให้กับตัวละครและอุปกรณ์ประกอบฉากทั้งหลาย โดยจะมีความสวยงามและสมจริงมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับ Texture

Blend Shape/Facial Rigging (สร้างการควบคุมสีหน้าของตัวละคร): การกำหนดสีหน้าในแบบต่างๆ

Rigging (การใส่โครงร่างกระดูกและจุดควบคุม): เพื่อสะดวกในการขยับตัวละคร โดยต้องอาสัยความเข้าใจเกี่ยวกับสรีระของร่างกายในรูปแบบต่างๆ

Test Animation (ทดสอบการเคลื่อนไหว): เพื่อดูการทำงานของโครงสร้างกระดูกให้อยู่ในสภาพปกติ

Layout (การจัดองค์ประกอบ): เป็นการนำโมเดลอุปกรณ์ต่างๆเข้ามาในฉาก เพื่อจัดให้ตรงกับสตอรีบอร์ดและเสียงพากย์

Animate (การขยับตัวละครให้เคลื่อนไหว): เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหว น้ำหนักและจังหวะให้สมบูรณ์

SLR (Shading/Lighting/Rendering): การใส่พื้นผิว - ให้ครบทุกองค์ประกอบ/ การจัดแสง - ใส่เฉดสีบรรยากาศแบบต่างๆ/ การประมวลผล - แยกเป็นเฟสหรือเลเยอร์

Compositing (การนำมาประกอบเข้าด้วยกัน): การทำเอฟเฟกต์ โดยโปรแกรม เช่น Combustion/After Effect

Post-Production

เป็นการตัด/ลดความยาวของแอนิเมชันให้ได้ตามเวลาที่ต้องการ ใส่เสียงเพลงหรือเสียงประกอบที่สัมพันธ์กับภาพ ประมวลผล Output ออกมาในรูปแบบของ AVI/Quick Time  .etc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...